ชาวบ้านเทิงต้านโรงไฟฟ้าขยะเอกชนหวั่นกระทบสิ่งแวดล้อมและวิถีชุมชน

30
3 (1)
วัรที่ 8 ธ.ค.58  ที่วัดช้างค้ำ หมู่บ้านร่องแช่ ม.4 ต.เวียง อ.เทิง จ.เชียงราย เจ้าห้าทีทฝ่ายปกครอง อ.เทิง และบริษัทตรัง เฟรนลี่ เอเนอร์ยี่ จำกัด ได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเพื่อหารือเกี่ยวกับโครงการแปลงขยะให้เป็นพลังงานไฟฟ้า ในพื้นที่หมู่บ้านใหม่ริมอิง ม.18 ต.เวียง อ.เทิง ที่อยู่ใกล้กันและเป็นเขตติดต่อกับ จ.พะเยา โดยมีนายอภิรศักดิ์ พฤกษชาติ นายอำเภอเทิงเป็นประธานการประชุมและมีชาวบ้านเข้าร่วมประมาณ 500 คน
โดยการรับฟังความคิดเห็นเป็นไปด้วยความเคร่งเครียดเนื่องจากชาวบ้านได้มีการรณรงค์ต่อต้านโครงการนี้มาอย่างต่อเนื่อง โดยมีการขึ้นป้ายต่อต้านตามจุดต่างๆ ภายใน 4 หมู่บ้านคือ ม.4 ม.13 ม.16 และ ม.18 ต.เวียง อ.เทิง ด้วยหลากหลายข้อความ “คัดค้าน-เราไม่เอาขยะเข้าบ้าน” , “ค้านค้านโรงงานไฟฟ้าพลังงานขยะ” เป็นต้น โดยในการประชุมชาวบ้านต่างถือป้ายต่อต้านโดยไม่มีฝ่ายสนับสนุน
ซึ่งในที่ประชุมได้มีการชี้แจงข้อมูลโครงการขยะดังกล่าว โดยเจ้าหน้าที่ของบริษัทฯ แต่ปรากฎว่าชาวบ้านได้แสดงความเห็นว่าไม่ต้องการรับฟังข้อมูลใดๆ แต่ไม่ต้องการให้มีการนำโครงการไปก่อตั้งในพื้นที่ที่ทางบริษัทได้กำหนด และต้องการทราบความเป็นมาของการขออนุญาตจัดตั้งโครงการซึ่งมีเอกสารที่ระบุถึงการประชุมย 2 ครั้งโดยมีการอ้างอิงถึงการประชุมต่างๆ ที่เอาโครงการและรายชื่อของชาวบ้านไปอ้างอิงประกอบการนำเสนอโครงการ ขณะที่ทางตัวแทนโครงการพยายามชี้แจงขอมูลแต่ก็ไม่ได้รับการตอบรับ
นายกุน เขียวจำปา ผู้ใหญบ้านร่องแช่ ได้ชี้แจงถึงที่มาของเอกสารการประชุมที่ผ่านมาว่าเป็นไปตามขั้นตอนทำให้กลุ่มชาวบ้านไม่พอใจโดยส่วนใหญ่ไม่เคยรับทราบความเป็นมาของโครงการนี้มาก่อน โดยตัวแทนบริษัทฯ ต้องประกาศให้ชาวบ้านทราบว่าเมื่อทางชุมชนไม่ต้องการโครงการมากถึงเพียงนี้ก็จำเป็นต้องยุติโครงการไปทำให้ชาวบ้านพอใจและแยกย้ายกันกลับโดยใช้ระยะเวลาเพียงประมาณ 1-2 ชั่วโมงเท่านั้น
นายนิยม กองบุญเกิด ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านใหม่ริมอิง กล่าวว่าโครงการนี้เพิ่งรับทราบว่าจะก่อสร้างเมื่อวันที่ 9 ส.ค.ที่ผ่านมาเมื่อมีการปรากฎการประชุมเพื่อประกอบการขออนุญาตก่อตั้งโครงการบนพื้นที่ที่ทางการเกษตรซึ่งไม่เหมาะสม เพราะเป็นชนบทและไม่มีปัญหาขยะแต่กลับจะนำเอาโรงงานไปก่อตั้งทำให้ชาวบ้านหวั่นเกรงเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แหล่งน้ำโดยเฉพาะอยู่ติดแม่น้ำอิงที่มีน้ำหลากทุกปี วิถีชีวิตโดยเฉพาะด้านสุขภาพ และความเป็นอยู่เดิมที่ชาวบ้านมีวิถีชีวิตกับแม้น้ำอิงจะได้รับผลกระทบ แม้จะมีการยืนยันเรื่องเทคโนโลยีว่าทันสมัยอย่างไรก็ไม่ไว้วางใจจึงได้พากันออกมาคัดค้านซึ่งการที่บริษัทฯ ประกาศยกเลิกต่อหน้าสาธารณชนไปแล้วก็ขอให้ทุกฝ่ายยืนยันไว้เป็นหลักฐาน
ด้านนายวรพจน์ รัศมิทัต กรรมการผู้จัดการบริษัทฯ กล่าวว่าทางรัฐบาลและจังหวัดมีโครงการเรื่องดูแลสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะป้องกันการเผาเพื่อป้องกันมลภาวะอยู่แล้ว ทางโครงการจึงได้เข้าไปศึกษาพื้นที่ต่างๆ จำนวน 51 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่อยู่บริเวณใกล้เคียงกับ อ.เทิง ปรากฎว่าพบที่บ้านใหม่ริมอิงดังกล่าวมีความเหมาะสม และพื้นที่ก็มีปริมาณขยะรวมกันมากถึงวันละกว่า 200 ตันและในอนาคตคงจะมากขึ้นอีก จึงเห็นว่าเหมาะจะมีโรงงานที่ทันสมัยและใช้เทคโนโลยีที่ไม่ทำให้เกิดมลภาวะเข้าไปจัดตั้ง จึงได้เข้าไปประชุมชี้แจงโครงการแต่เมื่อชาวบ้านไม่ต้องการทางเราก็ไม่ดื้อดึงแต่รู้สึกเสียใจเล็กน้อยที่ไม่ยอมรับฟังข้อมูลที่จะนำเสนอเท่านั้น

แสดงความคิดเห็น

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.