ทน.ชร.การจัดอบรมให้ความรู้ และแนะนำผู้ประกอบการขนาดย่อมสู่ประเทศไทย4.0 ตามโครงการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ (Early – Stage)

22

เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2562 นายวันชัย จงสุทธานามณี นายกเทศมนตรีนครเชียงราย น.ส.วรรณพัชร จินดาขัด รักษาการผู้อำนวยการกองวิชาการและแผนงาน นางนัยนา อินทจักษ์ รักษาการหัวหน้าสำนักปลัด ทน.ชร และ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องของสำนักงานเทศบาลนครเชียงราย เข้าร่วม การจัดอบรมให้ความรู้ และแนะนำผู้ประกอบการขนาดย่อมสู่ประเทศไทย4.0 ตามโครงการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ (Early – Stage) ปี 2562 จัดโดย สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ที่โรงแรมเวียงอินทร์ริเวอร์ไซค์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ทั้งนี้การจัดการอบรมเพื่อ ส่งเสริม และสนับสนุนให้ผู้ประกอบการใช้องค์ความรู้ในการทำธุรกิจ มีระบบการบริหารจัดการและใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการทำธุรกิจให้เกิด High Value ทั้งในแง่เชิงทฤษฎี และเชิงปฏิบัติ รวมทั้งเป็น ช่วยเหลือผู้ประกอบการให้มีความแข็งแรงในการจัดตั้งธุรกิจให้ยั่งยืนได้ในระยะยาวเพราะเป็นการทำธุรกิจอยู่บนพื้นฐานองค์ความรู้ทำให้มีเป้าหมาย และมีความชัดเจนในการสร้างธุรกิจ

นายวันชัย จงสุทธานามณี นายกเทศมนตรีนครเชียงราย กล่าวว่า โครงการนี้ถือว่าดีอย่างมาก ที่ทางเทศบาลนครเชียงราย สามารถนำไปต่อยอดพัฒนาในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะสามารถสร้างผู้ประกอบการให้เข้าถึงการขายสินค้าได้อย่างมีประสิทธิ์ภาพ และ สามารถเพิ่มความรู้ความสามารถด้านการประกอบธุรกิจขนาดเล็ดได้อย่างดีเยี่ยม

โดยแนวทางการพัฒนาผู้ประกอบการ

กิจกรรม 1 อบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship Course)มุ่งเน้นการเรียนรู้การเป็นผู้ประกอบการให้มีความสมัยใหม่เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มจากนวัตกรรม และการยกระดับธุรกิจ High Value การบริการจัดการธุรกิจทั่วไป การบัญชี การเงิน การตลาด กฎหมายธุรกิจ เป็นต้น

กิจกรรม 2 อบรมเชิงปฏิบัติจัดทำแผนธุรกิจการเตรียมพร้อมขอกู้เงินผู้ที่เข้าร่วมอบรมจะต้องมีแผนธุรกิจ 1 เล่ม/ราย และพร้อมเข้าสู่การบริการต่างๆของ สสว.และภาครัฐ เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพานิชย์ ซึ่งมีการสนับสนุนผู้ประกอบการตามนโยบายภาครัฐ SME เกษตร จัดให้ทำแผนธุรกิจโดยมุ่งเน้นธุรกิจแปรรูปสินค้าเกษตรให้ตรงตามแนวโน้มตลาด / SME ทั่วไป จัดให้มีแผนธุรกิจมุ่งเน้นเริ่มต้นธุรกิจด้วยความคิดสร้างสรรค์ ใช้เทคโนโลยีประกอบธุรกิจ มีแนวคิดการพัฒนาธุรกิจอย่างต่อเนื่อง โดยมีพี่เลี้ยงที่เป็นนักธุรกิจในระดับท้องถิ่นดูแล

กิจกรรม 3 สร้างและพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการในเชิงลึกให้ตรงตามที่เหมาะสมกับผู้ประกอบการ เช่น การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าด้วยงานวิจัย นวัตกรรม และการนำเทคโนโลยีและ ICT มาช่วยในการทำธุรกิจ การออกแบบ พัฒนาบรรจุภัณฑ์ และการสร้างตราสินค้าเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ การพัฒนาปรับปรุงเทคโนโลยีและเครื่องมือในการเพิ่มผลผลิตและการยกระดับมาตรฐานสินค้าเกษตร ผ่านการรับรองให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐานมีความน่าเชื่อถือ การทำเกษตรเชิงพาณิชย์อย่างมืออาชีพ

กิจกรรม 4 เชื่อมโยงสินค้าเข้าสู่การส่งเสริมตลาดเพื่อเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการให้เข้าโครงการพัฒนาช่องทางการตลาดสำหรับผู้ประกอบการ SME หรือโครงการช่องทางตลาดอื่นๆ /จับคู่เชื่อมโยงแหล่งเงินทุนร่วมกับสถาบันการเงินของรัฐ และ เอกชน หรือแหล่งเงินทุนอื่นๆ เพื่อเป็นการสนับสนุนทางด้านการเงิน

แสดงความคิดเห็น

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.