เลขาธิการสภาการศึกษาเผย’การขับเคลื่อนการศึกษาแห่งชาติ’

3

ที่ห้องประชุมโรงแรมเวียงอินทร์ อ.เมืองเชียงราย ดร.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ เลขาธิการสภาการศึกษาเป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการระดับภูมิภาค เรื่อง การขับเคลื่อนแผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง(พ.ศ.2556-2559)สู่การปฏิบัติ ภาคเหนือ โดยมีผู้บริหารสถานศึกษาจาก 17 จังหวัดภาคเหนือเข้าร่วม โดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษามีภารกิจหลักในการจัดทำนโยบายและแผนการศึกษาแห่งชาติที่บูรณาการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม กีฬากับการศึกษาทุกระดับและทุกประเภท เพื่อเป็นกรอบแนวทางในการพัฒนาการศึกษาของหน่วยงานต่างๆของประเทศ เพื่อให้ทันต่อการปรับเปลี่ยนในยุคปัจจุบันจึงได้มีการแก้ไขแผนการศึกษาแห่งชาติ ให้สอดคล้องและคลอบคลุมในทุกๆด้าน โดยเฉพาะเรื่องการศึกษาในภาคใต้ และการเตรียมคนในการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558

โดยการนำแผนการศึกษาแห่งชาติฉบับปรับปรุง(พ.ศ.2556-2559)สู่การปฏิบัติจะประสบความสำเร็จ และบรรลุเป้าหมายจำเป็นต้องมีการขับเคลื่อนที่ชัดเจน มีประสิทธิภาพ ทั้งในระดับภาพรวมและระดับพื้นที่ จำเป็นต้องมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนกลาง จังหวัด กลุ่มจังหวัด เขตพื้นที่การศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสถานศึกษา จำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจในสาระสำคัญของแผนการศึกษา เพื่อสามารถนำไปเป็นกรอบแนวทางในการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษา และจัดทำแผนปฏิบัติการของหน่วยงานได้อย่างถูกต้องและเป็นรูปธรรม

ดร.ศศิธารา พิชัยชาญนรงค์ เลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวว่า แผนการศึกษาแห่งชาติได้จัดดำเนิากรขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2542 และได้มีการปรับปรุงมาเรื่อยๆ ซึ่งในปัจจุบันมีหลายเรื่องที่ไม่ทันสมัย และไม่สอดคล้องกับการเมืองและทางกฏหมาย เช่น แผนการศึกษาเดิมไม่มีการศึกษาถึงการศึกษาใน 3 จงหวัดชายแดนภาคใต้ เรื่องยาเสพติด และเรื่องในประชาคมอาเซียน ซึ่งเป็นเรื่อใหม่ที่่ต้องเพิมขึ้นในระบบการศึกษาและเชื่อมโยงในเป็นสากลมากขึ้น โดยแผนการศึกษาใหม่ ทางรัฐบาลได้กำออกมาอย่างชัดเจนว่า เยาวชนทุกคนจะต้องได้รับการศึกษาอย่างน้อย 15 ปี โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยมีแผนการศึกษาแห่งชาติ จะต้องมีเรื่องอื่นเข้ามาร่วมด้วยไม่ใช้มีเพียงแต่การศึกษาเพียงอย่างเดียว จะต้องมีเรื่องศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และภูมิปัญญาด้านต่างๆจะต้องได้รับการบูรณาการ เพื่อนำเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการศึกษาให้กับเยาชนยุคใหม่

“นอกจากการศึกษาแห่งชาติยังมีการศึกาทางเลือก ซึ่งผู้ปกครองที่ไม่อยากส่งบุตรหลานไปยังสถานศึกษาต่างๆ ในระดับประถมศึกษาปีที่ 1 -6 สามารถนำแผนการสอนตามหลักสูตรมาสอนให้บุตรหลานเองที่บ้านได้ และเมื่อถึงเวลาก็นำบุตรหลานมาสอบเทียบเมื่อถึงเวลา ซึ่งสามารถทำได้ แต่ต้องดำเนินการตามแผนการศึกษาแห่งชาติ เพื่อให้บุตรหลานมีความรู้ความสามารถไม่ด้อยไปกว่าผู้ที่ได้รับการศึกษาจากสถานศึกษา” เลขาธิการสภาการศึกษา กล่าว.

22 11

แสดงความคิดเห็น

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.