เวลาประมาณ 17.00 วันที่ 5 เม.ย.57 ที่ จ.เชียงราย ได้เกิดพายุฤดูร้อนมีลมกระโชกรุนแรง และมีลูกเห็บขนาดเท่ากับลูกมะนาวตกลงมาเป็นจำนวนมาก ยาวนานประมาณ 1 ชั่วโมง ทำให้ พื้นที่ดินขาวโพลนคล้ายกับมีหิมะตก ซึ่งความรุนแรงของพายุฤดูร้อนดังกล่าวทำให้ป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ เกิดความเสียหายหลายพื้นที่ มีบ้านเรือนของประชาชน และไร่ชา ใน อ.แม่ฟ้าหลวง ได้รับความเสียหายจำนวนมาก
ซึ่งพายุฤดูร้อนได้สร้างความเสียหายอย่างหนักที่ อ.เมือง จ.เชียงราย มีพายุลูกเห็บพัดถล่มในหลายตำบล ที่ ต.นางแล มีบ้านเรือนของราษฎรกว่า 3 หมู่บ้านได้รับความเสียหาย ที่ ต.บ้านดู่ บริเวณท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง มีลูกเห็บขนาดเท่าผลมะนาวตกลงมาเป็นจำนวนมาก ทำให้รถของเจ้าหน้าที่และผู้ใช้บริการบางคันเป็นหลุมลึก นอกจากนี้ที่ด้านหน้าท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง พบว่าป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ได้พังลงมา นอกจากนี้เส้นทางช่วงสนามฟุตบอลสโมสรเชียงรายยูไนเต็ด พบว่ามีต้นไม้หักโค่นขวางถนนกลายจุด โดยจุดที่หนักที่สุด คือบ้านหัวฝาย ม.13 ต.บ้านดู่ ซึ่งมีบ้านเรือนตั่งอยู่ที่โล่ง และใกล้แนวสันเขา ทำให้มีลูกเห็บตกจำนวนมากและขนาดใหญ่ พร้อมกับลมที่กระโชกแรง ส่งผลให้มีบ้านเรือนของราษฎรกว่า 300 หลังคาเรือนถูกลูกเห็บตกใส่จนเป็นรูพรุน น้ำไหลนองเต็มบ้าน ทรัพย์สินได้รับความเสียหาย ชาวบ้านอย่างน้อย 100 ครอบครัวต้องไร้ที่นอน
ด้าน ที่ ต.แม่สลอง อ.แม่ฟ้าหลวง ซึ่งเป็นแหล่งปลูกชาและแหล่งท่องเที่ยวใน อ.แม่ฟ้าหลวง ได้ถูกพายุลูกเห็บถล่มไร่ชาและรีสอร์ทในพื้นที่ได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก นายจำเริญ ชีวินเฉลิมโชติ เจ้าของแม่สลอง วิลล่า กล่าวว่า พายุลูกเห็บครั้งนี้เกิดขึ้นนานมาก โดยตกติดต่อกันถึง 3 ระลอก นานกว่า 1 ชั่วโมง ชาวบ้านต่างพากันหลบเพื่อเอาตัวรอด นอกจากนี้ที่ บ้านป่าคาสุขใจ ม.5 ต.แม่สลองนอก อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย มีบ้านเรือนได้รับความเสียหายจำนวน 76 หลังคาเรือน จากบ้านทั้งหมดในหมู่บ้านกว่า 90 หลัง โดยทาง เจ้าหน้าที่ อส. ปลัดป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย อ.แม่ฟ้าหลวง กำนัน ผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ได้เข้าพ้นที่ตรวจสอบเพื่อให้ความช่วยเหลือ
หลังจากพายุได้สงบลง นายประจญ ปรัชญ์สกุล รอง ผวจ.เชียงรายนายสว่าง ม่อมดี ป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัยจังหวัดเชียงราย นายพัฒนพงษ์ โพธิ์เกตุ นายกเทศมนตรี ต.บ้านดู่ ได้นำเครื่องนอ เช่น ผ้าห่ม หมอน มุ้ง มาแจกจ่ายให้กับประชาชนที่ไร้ที่นอน และให้มาพักค้างคืนที่ ศริสจักรบ้านกัวฝาย ซึ่งเป็นโบสถ์คริสประจำหมู่บ้านเป็นการชั่วคราวไปก่อน โดยในช่วงเช้าจะได้ทำการตรวจสอบความเสียหายอย่างละเอียด เพื่อจะได้จัดสรรงบประมาณในการให้ความช่วยเหลือผู้ที่ประสบภัย
Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.