มฟล ผุด “เชียงรายโมเดล” แผนรับมือแผ่นดินไหวภาคประชาชาชน

31

111

ดร.เด่นพงษ์ วงศ์วิจิตร หัวหน้าสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.) ผู้รับผิดชอบ “โครงการการจัดการภัยพิบัติแผ่นดินไหวโดยชุมชนท้องถิ่นเป็นศูนย์กลาง เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ปลอดภัยและรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน” เปิดเผยว่า หลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ที่อำเภอแม่ลาว เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2557 ได้ สร้างความเสียหายเป็นวงกว้าง ดังนั้นทาง มฟล. ได้ร่วมกับสมัชชาสุขภาพจังหวัดเชียงราย ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ หน่วยงานราชการและเอกชนที่เกี่ยวข้อง รวมถึงประชาชนที่ได้รับผลกระทบ เปิดเวที สาธารณะถอดบทเรียนจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว เพื่อร่วมสรุปผลการดำเนินการ หาจุดดีจุดด้อยในรับมือกับปัญหาในภาคส่วนต่างๆ และในเร็วๆ นี้ทาง มฟล. ได้เตรียมส่งมอบคู่มือและจัดเสวนา “การจัดการภัย พิบัติแผ่นดินไหวโดยชุมชนท้องถิ่นเป็นศูนย์กลาง” เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ไปสู่ภาคประชาชนโดยตรง โดยจะมีการอบรมทั้งภาคทฤษฎีและซักซ้อมแผนรับมือในภาคปฏิบัติ ให้แก่ตัวแทนชุมชนและองค์กรท้อง ถิ่นจาก 131 หมู่บ้านใน 25 ตำบลขอ 11 อำเภอ โดยมุ่งหวังให้เกิด “เชียงรายโมเดล” เมืองต้นแบบและศูนย์การเรียนรู้การบริหารจัดการภัยพิบัติในอนาคต

11211681_1006913919326352_847846498_o (1)

จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในประเทศเนปาล ประจวบกับครบรอบ 1 ปีแผ่นดินไหวที่เชียงราย ยิ่งสร้างความตระหนักให้ประชาชนหันมาใส่ใจกับการเตรียมรับมือภัยพิบัติที่เข้ามาใกล้ตัวมากขึ้นทุกวัน เมื่อมอง ย้อนไปถึงบทเรียนที่ได้จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่แม่ลาว มีประเด็นที่น่าสนใจคือ ชุมชนไม่มีความพร้อมในการรับมือภัยพิบัติ เพราะไม่คาดคิดและไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน อีกทั้งไม่เคยมีการซักซ้อมแผน รับมือ ไม่มีหน่วยงานที่เป็นศูนย์กลางเมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้น ทำให้การแก้ไขปัญหาเป็นไปโดยล่าช้า ซ้ำซ้อนและไม่ทั่วถึง ดังนั้นทาง มฟล. จึงได้รวบรวมองค์ความรู้เพื่อเตรียมถ่ายทอดให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงสามารถดูแลตนเองเองได้ โดยไม่ได้หวังพึ่งพาหน่วยงานของรัฐแต่เพียงอย่างเดียว โดยได้เตรียมจัดเสวนาการถ่ายทอดมาตรการในการจัดการภัยพิบัติแผ่นดินไหว กระจายความรู้ไปท้องถิ่นโดยตรง รวมทั้ง หน่วยงานระดับชุมชนที่ต้องเผชิญกับปัญหาจริงๆ บนพื้นที่ที่มีความเสี่ยงจะได้รับผลกระทบในรัศมีรอยเลื่อนทั้ง 3 แห่งที่อยู่ในเขตจังหวัดเชียงราย คือ รอยเลื่อนแม่จัน รอยเลื่อนแม่อิง และกลุ่มรอยเลื่อนพะเยา

Picture7

“ในอนาคตเรามุ่งหวังจะสร้างให้เกิด เชียงรายโมเดล เมืองต้นแบบการจัดการภัยพิบัติอย่างเป็นรูปธรรม เราไม่ได้คิดว่าจะเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านภัยพิบัติ หรือเข้าไปช่วยแก้ไขปัญหาทุกอย่างให้แต่จะขออาสาเป็นศูนย์การเรียนรู้การบริหารจัดการภัยพิบัติแผ่นดินไหว โดยมีชุมชนท้องถิ่นเป็นศูนย์กลาง โดยเริ่มต้นด้วยการจัดเตรียมคู่มือ 2 เล่ม เพื่อแจกจ่ายให้กับตัวแทนของชุมชนและหน่วยงานท้องถิ่นที่ จะมาเข้าร่วมการเสวนา โดยเล่มแรกมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมทักษะระดับบุคคล ครัวเรือน หน่วยงาน บ้าน วัด โรงเรียน อาคารสำนักงาน โรงพายาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หน่วยงานเหล่านี้ต้องมี ศูนย์อำนวยการกลางให้การทำงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ประชาชนต้องรู้วิธีเตรียมพร้อมทั้งก่อนและหลังเกิดเหตุ รู้จักวิธีการเอาชีวิตรอด ส่วนเล่มที่ 2 จะให้ความรู้ด้านวิชาการเกี่ยวกับแผ่นดินไหว หลัก ปฏิบัติสากล และประวัติเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทย”ดร.เด่นพงษ์ กล่าว

Picture8

นอกจากนี้ ดร.เด่นพงษ์ ยังตั้งความหวังว่า มฟล. จะสร้างหลักสูตรการอบรมและเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้การจัดการภัยพิบัติแผ่นดินไหวของจังหวัดเชียงราย รวมทั้งขยายผลไปยังจังหวัดในเขตภาคเหนือตอนบน ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน จับมือกันเพื่อก้าวผ่านแรงสั่นสะเทือนไปด้วยกันอย่างมั่นคง

 

แสดงความคิดเห็น

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.