ปัจจุบันธุรกิจเครื่องสำอาง และความงามเป็นธุรกิจที่มีอัตราการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทุกปี การนำเข้าวัตถุดิบที่เป็นเอกลักษณ์ในท้องถิ่น ซึ่งทางมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงได้ค้นคว้า วิจัย เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบสูงวุดในรูปแบบผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง จะช่วยเพิ่มมูลค่าของวัตถุดิบ ช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรผู้เป็นเจ้าของวัตถุดิบ และช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวของท้องถิ่นได้อีกทางหนึ่ง
โดยโครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงถึงความร่วมมือระหว่างจังหวัดเชียงรายกับมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางต้นแบบของจังหวัด คือ Lannadene Chiang Rai Signation Cosmatic จางองค์ความรู้และงานวิจัยของสำนักวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ส่งเสริมการท่องเที่ยวที่มีประสิทธิภาพและเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดเชียงราย และเพื่อสร้างผู้ประกอบการใหม่ที่เกี่ยวข้องกับธรกิจเครื่องสำองจากการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
ดร.ภาณุพงษ์ ใจวุฒิ คณบดีสำนักวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง มาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงกล่าวว่า จังหวัดเชียงรายมีพืชที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดหรือ Cghiang Rai Signature เช่นชา กาแฟ สับปะรดนางแล และภูแล ข้าว ลำไย และลิ้นจี่ ซึ่งการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากท้องถิ่น จะช่วยเพิ่มความเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดเชียงรายให้โดดเด่นเป็นที่จดจำของนักท่องเที่ยว และเป็นต้นแบบให้ผู้ประกอบการณ์ชาวเชียงรายสามารถนำไปต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตัวเอง
“สำนักวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง ได้นำความรู้จากการวิจัยมรต่อยอด และพัฒนาพืชพันธ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดเชียงรายมาเป็นส่วนผสม โดยการสกัดสาจากใบชา สารสกัดจากผลกาแฟ สารสกัดจากสับปะรด และสารสกัดเปลือกเมล็ดลำไย ที่มีคุณประโยชน์ทางเครื่องสำอางสูงหลายประการ จากนั้นได้พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางต้นแบบ ชื่อว่า Lannadene Chiang Rai Signation Cosmatic โดยได้รับความร่วมมือและสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ ในจังหวัดเชียงรานและกลุ่มคลัสเตอร์เครื่องสำอางไทยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยหวังว่าความสำเร็จของโครงการนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างผลิตภัณฑ์เอกลักษณ์ของเชียงรายเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของจังหวัดและชาวเชียงรายอย่างยั่งยืน” คณบดีสำนักวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง มาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงกล่าว
ด้าน ดร.พนม วิญญายอง รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กล่าวว่า ในการผลักดันเครื่องสำอางของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงเข้าสู่ตลาดอาเซียนนั้นทาง มหาวิทยาลัยได้ร่วมกับ สภาอุตสาหกรรม หอการค้าจังหวัดเชียงราย มาคัดเลือกผลงานโดยทางมหาวิทยาลัยจะส่งมอบความรู้ในด้านการผลิตให้พร้อมกับแนะนำวิธีการผลิตเพื่อสามารถผลิตได้เป็นแบรนด์ของตัวเองเพื่อส่งออกเพื่อสร้างรายได้
สำหรับเป้าหมายในการค้นคว้าและการผลิตเครื่องสำอางของทางสำนักวิชาเครื่องสำอาง มีเป้าหมายจะผลิตเครื่องสำอางไทยให้เป็นThailand Brand เพื่อสร้างเชื่อเสียงให้กับเครื่องสำอางของไทย เพราะในไทยนั้นมีวัตถุดิบที่จะสามารถนำมาผลิตเป็นเครื่องสำอางที่มีคุณภาพที่ดีได้ไม่แพ้เครื่องสำอางจากชาติอื่น ซึ่งตอนนี้โจทย์ของการผลิตก็คือจะทำอย่างไรเพื่อให้สิ่งที่มีอยู่ตอนนี้ขับเคลื่อนสู่ตลาดโลกให้ได้ ซึ่งตอนนี้ก็ต้องอาศัยความร่วมมือทั้งทางภาครัฐ อุตสาหกรรม และภาคเอกชน
สำหรับเป้าหมายของทางมหาวิทยาลัยมีเป้าหมายที่จะสร้างศูนย์ส่งเสริมผู้ประกอบการผู้ผลิตเครื่องสำอาง ให้เป็น One Stop Service ผู้ประกอบการเครื่องสำอาง สามารถมาติดต่อกับทางมหาวิทยาลัยได้ทุกเรื่อง ทั้งผลิตภัณฑ์ ทั้งด้านการตลาด ซึ่งทางมหาวิทยาลัยจะช่วยเหลือผลักดันให้สามารถดำเนินธุรกิจได้
Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.