ทีมอุทกวิทยามหาวิทยาลัยชิงหัว กล่าวหา แม่โขงแดมมอนิเตอร์ให้ข้อมูลผิดพลาด ด้านหัวหน้าโครงการ ชี้ เป็นการพยายามทำให้ความเชื่อมั่นของโครงการเสื่อมเสีย

53

ทีมอุทกวิทยามหาวิทยาลัยชิงหัว กล่าวหา แม่โขงแดมมอนิเตอร์ให้ข้อมูลผิดพลาด เกี่ยวกับการใช้โปรแกรมคำนวนปริมาณน้ำของเขื่อนในประเทศจีน เผยเครื่องมือล้าหลัง ด้านหัวหน้าโครงการ ชี้ เป็นการพยายามทำให้ความเชื่อมั่นของโครงการเสื่อมเสีย

เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2565 ที่ผ่านมาเว็ปไซด์ globaltimes.cn ได้เผยแกร่บทความถึงข้อผิดพลาดของโครงการแม่โขงแดมมอนิเตอร์ว่า ผู้เชี่ยวชาญชาวจีนพบข้อผิดพลาดที่เห็นได้ชัดในข้อมูลที่มีอคติเกี่ยวกับเขื่อนของจีนในแม่น้ำโขงโดยโครงการที่ได้รับทุนสนับสนุนจากสหรัฐฯ โดยมีเนื้อหาว่า ทีมวิจัยอุทกวิทยา จากหมาวิทยาลัย Tsinghua พบว่าข้อมูลของ Mekong Dam Monitor (MDM) ไม่สามารถสะท้อนแนวโน้มโดยรวมของระดับน้ำและการเปลี่ยนแปลงในแม่น้ำโขงได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งผู้สังเกตได้พบข้อผิดพลาด ส่วนหนึ่งเกิดจากเครื่องมือที่ล้าหลัง และการพิจารณาทางการเมืองแบบลับๆ การอ่านค่า MDM ที่ Jing Reserver ทำให้เกิดความขัดแย้งที่รุนแรงขึ้น เนื่องจากเกือบทั้งหมดไม่เข้ากับสภาพจริงได้ตลอดเวลา ในช่วงเวลาที่ทำการตรวจสอบตั้งแต่ มกราคม 2019 ถึง กรกฎาคม 2021 ส่งผลให้เกิดข้อสรุปที่ผิดพลาด และสำหรับ Nuozhadu ซึ่เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่อีกแห่งของจีน ในแม่น้ำล้านช้าง ซึ่งข้อมูลของ MDM อาจะสะท้อนถึงแนวโน้มโดยรวมตั้งแต่ปี 2016 ถึง 2021 แต่ทำให้เกิดความเบี่ยงแบนอย่างมากในบางส่วน ซึ่งนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการเปิดเผยความเบี่ยงเบน แม่แต่ความขัดแย้งในผลลัพธ์ของ MDM ในปี 2019 – 2020 ได้ประกาศเตือน “ภัยคุกคามเขื่อนของจีน” โดยอ้างว่าภัยแล้งในภูมิภาคแม่น้ำโขงตอนล่าง เกิดจากการกักเก็บน้ำต้นเขื่อนของจีน

 

ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัย Tsinghua ชี้ให้เห็นว่า จุดศูนย์กลางของ MDM อยู่ที่ประเทศจีน โดย MDM ได้จัดเวลทีเสวนาออนไลน์เป็นครั้งคราว เพื่อหารือและปลุกปั่นข้อกล่าวหาเรื่องผลกระทบด้านลบของเขื่อนทั้งต้นน้ำ และปลายน้ำ โดยเมินต่อการบรรเทาทุกข์ ไม่สนใจข้อเท็จริงว่ากระแสนน้ำในลุ่มน้ำของจีนมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 13.5 ของการไหลของแม่น้ำโขงทั้งหมด โดยมีผลกระทบอย่างจำกัดต่อพื้นที่ตอนล่างของแม่น้ำ ในความเป็นจริงไม่มีความขัดแย้งด้านน้ำที่รุนแรงในแม่น้ำล้านช้าง – แม่น้ำโขง ตรงกันข้ามกับมุมมองของรายงานและวิชาการของสื่อตะวันตก

หลังจากที่มีการเผยแพร่บทคงามดังกล่าวออกไป ทำใหเมื่อวันที่ 3 มีนาคมที่ผ่านมา ไบรอัน อายเลอร์ ผู้อำนวยการ โครงการในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของศูนย์สติมสัน และหัวหน้าโครงการMekong Dam Monitor (MDM) ได้กล่าวถึงการเผยแพร่ข่าวดังกล่าวว่า ทางเราไม่จำเป็นต้องมีการแถลงข่าวตอบโต้การนำเสนอข่าวดังกล่าว โดยที่ผ่านมาข้อมูลที่ได้จาก MDM ได้มีการนำมาวิเคราะห์ และทาง MRC ก็ได้นำข้อมูลมาเป็นข้อมูลในการนำเสนอแผนงานและการพูดคุยถึงปัญหาในแม่น้ำโขง ซึ่งผลจากการเก็บข้อมูลก็ตรงกับข้อมูลที่ได้จากการสำรวจในพื้นที่แม่น้ำโขง และประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ ซึ่งขอบคุณมากสำหรับทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัย Tsinghua ที่ได้ชี้ให้เห็นข้อผิดพลาดของโปรแกรมเสมือนจริง เกี่ยวกับทิศทางที่เป็นไปได้บางประการในปี 2020 สำหรับ Xiaowan

 

 

“เราตรวจสอบการประมาณค่ามาตรวัดเสมือนจริงของเรากับภาพถ่ายดาวเทียมที่มีความละเอียดสูงจาก Planet Labs เพื่อค้นหาว่ายอดเขาและหุบเขาที่ผิดปกตินั้นไม่ได้เกิดขึ้นจริงในปี 2020 การตรวจสอบเส้นโค้งการทำงานของ Xiaowan และเขื่อน Nuozhadu ของเราแนะนำว่าไม่มีข้อผิดพลาดด้านทิศทางที่สำคัญอื่นๆ ในการประมาณค่า เส้นการทำงานของ Xiaowan ได้รับการอัปเดตเพื่อสะท้อนถึงระดับและปริมาณน้ำที่แม่นยำยิ่งขึ้นสำหรับวันที่ดังกล่าว การแก้ไขเหล่านี้ไม่ส่งผลต่อแนวโน้มข้อมูลโดยรวมของ Xiaowan ในปี 2020 ตามที่กำหนดไว้ก่อนหน้านี้ เราสนับสนุนให้นักวิทยาศาสตร์ของจีนและนักวิจัยคนอื่นๆ แบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับระดับอ่างเก็บน้ำในแม่น้ำโขงภายในและภายนอกประเทศจีนต่อไป เพื่อให้เห็นภาพที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้นว่าเขื่อนส่งผลกระทบต่อแม่น้ำโขงอย่างไร วิทยาศาสตร์เป็นกระบวนการทำงานร่วมกันและปรับปรุงอยู่เสมอ โปรดสังเกตว่าขณะนี้ MRC กำลังใช้ข้อมูล MDM ในการวิจัยและการวางแผน ดังนั้นจึงเป็นไปได้ที่บทความ globaltimes.cn เป็นความพยายามที่จะทำให้ข้อมูล MDM เสื่อมเสีย” ไบรอัน อายเลอร์ กล่าว

 

แสดงความคิดเห็น

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.